ยินดีต้อนรับ

>Wellcom To Phra Pattanachai Kitiphatto Blog.

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติพระพุทธศาสนา อ.ภูริทัต ศรีอร่าม

๘.๔  พระพุทธศาสนาในประเทศมองโกเลีย
๘.๔.๑  ประวัติความเป็นมา
                ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่  ๑๘  ชนเผ่ามองโกเลีย  ซึ่งมีแจงกีสข่านเป็นประมุข  ได้เรืองอำนาจขึ้นและรุกรานดินแดนต่าง ๆ แผ่อำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง  ตั้งจักรพรรดิของมองโกเลียขึ้น  สามารถชนะจีน  ทิเบต  และยังได้แผ่อำนาจไปยังยุโรปตะวันออก   จักรพรรดิองค์ที่  ๔  ชื่อ กุบไลข่าน  ย้ายนครหลวงจากมองโกเลียไปตั้งที่ปักกิ่ง  เมื่อ  พ.ศ. ๑๘๐๓  และตั้งราชวงศ์มองโกเลียของตน เรียกว่า “ราชวงศ์หงวนหรือหยวน”  พระพุทธศาสนาจึงเริ่มเข้าสู่มองโกเลียตั้งแต่ครั้งนั้น โดยกุบไลข่านได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบลามะของทิเบต
                ประมาณ  พ.ศ. ๒๑๒๒ – ๒๒๗๒  สมัยพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ทรงอาราธนา สอด นัมยาโส  ประมุขสงฆ์ทิเบตรูปที่    ไปยังประเทศมองโกเลีย   ทงเลื่อมใสในจริยาวัตรของลามะรูปนี้มาก  ถึงกับเชื่อว่าเป็นอาจารย์ของกุบไลข่านกลับชาติมาเกิด  จึงเรียกท่านว่า  ทะไลลามะ ขุนนางในราชสำนักออกบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  มีผู้ศึกษษเป้นปราชญ์มากขึ้น สามารถช่วยกันแปลคัมภีร์จากภาษาทิเบตและสันสกฤตเป็นภาษามองโกเลีย  ทำให้ภาษาและวรรณคดีที่สำคัญของมองโกเลียรุ่งเรืองมากในยุคนี้  และทรงประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตอของมองโกเลีย  ใน พ.ศ. ๒๑๒๐

๘.๔.๒  สภาพการณ์ปัจจุบัน
                ครั้นต่อมา  ทะไลลามะองค์ที่    ถึงมรณภาพลง  ปรากฏว่าพระนัดดา (หลาน)  ของพระเจ้าอัลข่าน ได้รับคัดเลือกเป็นชาติใหม่ขององค์ทะไลลามะนั้น  ข้อนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์เกลุกปะของทิเบตกับชาวมองโกเลียแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  และในระยะใกล้ ๆ กันนั้นก็ได้เกิดมีตำแหน่ง “พระพุทธเจ้าองค์ที่ยังทรงชีพ”  ขึ้น  มีฐานะเป็นประมุขทางศาสนา  และเป็นผู้นำของรัฐ  สถิต ณ เมืองอูรคา (ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของสาธารณะรัฐประชาชนมองโกเลียเปลี่ยนชื่อเป็นอูลานบาเตอร์)  มีฐานะสูงนับเป็นอันดับที่  ๓ ในพระพุทธศาสนานิกายลามะรองจากทะไลลามะ และปันเชนลามะ  ขึ้นตรงต่อองค์ทะไลลามะในทิเบต  หรือรัฐที่ซ้อนอยู่ มีกฎหมายทรัพย์สินและการปกครองของตนเอง  เป็นอิสระดุจเป็นประเทศ  หรือรัฐที่ซ้อนอยู่ภายในอีกประเทศ หรืออีกรัฐหนึ่ง  และได้มีผู้เข้าบวชเป็นจำนวนมาก  เมื่อไม่นานมานี้มีผู้ประมาณว่าลามะมีจำนวนถึง ๑ ใน ๓  ของจำนวนพลเมืองที่เป็นชายทั้งหมด  คือมีลามะอยู่ประมาณ  ๑๕๐,๐๐๐  รูป (ใน พ.ศ. ๒๔๖๘  มองโกเลียนอกมีประชากรราว ๖๑๕,๗๐๐ คน)  นอกจากนี้ยัวมีคนรับราชการใน “พระพุทธเจ้าองค์ที่ยังทรงชีพ”  นั้นอีกราว ๆ ๑๕๐,๐๐๐  คน  เท่ากับคณะสงฆ์มีอำนาจปกครองประชากรเกือบครึ้งหนึ่งของประเทศ  เริ่มแต่จักรวรรดิสลาย ดินแดนนที่เป็นประเทศมองโกเลียก็แตกแยกลดน้อยลงไป  ส่วนที่เป็นมองโกเลียในก็ตกไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน  ส่วนที่เป็นมองโกเลียนอกได้ตกเป็นดินแดนของโซเวียตไปบ้าง ส่วนที่เหลืออยู่ก้ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมแบบที่ได้รับอิทธิพลและความคุ้มครองจากโซเวียต  เรียกว่าสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย  ปัจจุบันตำแหน่ง “พระพุทธเจ้าที่ทรงชีพ”  ได้ขาดตอนไปแล้ว  และจำนวนลามะทั่วประเทศลดน้อยลงเหลือเพียงประมาณ  ๒๐๐   องค์  ปัจจุบันพระพุทธศาสนายังมรอยู่ในมองโกเลีย  เพียงแต่อยู่ในความดูแลความควบคุมของรัฐเท่านั้น
                ๘.๔.๒  แนวโน้มในอนาคต
                พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแบบทิเบต  ได้เข้าไปในมองโกเลียเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่  ๑๘  และได้เจริญรุ่งเรืองเมื่อประมาณ  พ.ศ. ๒๑๒๒ – ๒๒๗๒  ในสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน และจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา  แต่ในปัจจุบันค่อย ๆ เสื่อมลง  และอยู่ในความควบคุมของรัฐเท่านั้น อย่างไรก็ตามพระพุทธศาสนาจะเจริญได้ ต้องอาศัยฝ่ายอาณาจักรอุปถัมภ์ทำงานน่วมกัน พระพุทธศาสนาจึงจักยังอยู่และเจริญรุ่งเรืองต่อไป

๘.๕  พระพุทธศาสนาในประเทศอุซเบกิซสถาน
               
๘.๕.๒   ประวัติความเป็นมา
                                ประเทศอุซเบกิซสถาน  มีประชากรราว  ๒๕  ล้านคนเศษ  ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม  และศาสนาคริสต์เป็นบางส่วน  เมืองหลวงชื่อ ตาศเกน (Tashken)  สกุลเงิน  คือ  ซอม (Som)  มีพื้นที่ราว ๔๔๗,๔๐๐  ตารางกิโลเมตร  เมื่อ  ๓๐  ปีที่ผ่านมา   ขณะที่อุซเบซกิ
สถานยังไม่แยกตัวออกมาจากโซเวียต  กรมโบราณคดีของรัสเซียได้ขุดค้นเมืองโบราณแห่งและได้พบพุทธสถานตามเมืองทางภาคใต้ของประเทศที่ติดกับอัฟกานิสถาน  เช่น  เมืองสมารกันด์ (Smarkand)  เมืองบุขารา (Bukhara)  เมืองเทอเมซ (Termez)  เป็นต้น  พุทธสถานถูกทำลายมาหลายช่วงทั้งภัยธรรมชาติ  และที่สำคัญคือการทำลายจากกองทัพมุสลิม  ตั้งแต่  พ.ศ. ๑๒๐๐ (ค.ศ. ๑๗๔๓)  ทำให้พระพุทธศาสนาไม่อาจฟื้นคืนมาอีก  เมื่อสิ้นสุดการเป็นส่วนนหึ่งของสหภาพโซเวียต  อุซเกกิซสถานได้รักษาโบราณสถาน  โดยถือว่าเป็นสิ่งมีค่า  เพื่อย้อนอดีตก่อนที่มุสลิมจะเข้ามาพร้อมกับจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา  ภายในที่พระพุทธรูปนอน  และพระพุทธรูปบางต่าง ๆ  แต่น่าเสียตาย  รัฐมนตรีที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะจัดสร้างพระพุทธรูปบางต่าง ๆ  ถูกลอบสังหารจากมุสลิมหัวรุนแรงทำให้งานชะงักไป  และที่เมืองเทอเมซของอุซเบกิซสถาน  ได้ฉลองเมืองครอบ  ๒๕๐๐  ปี  รัฐบาลได้ให้ความรู้แก่ประชาชน  ถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาก่อนที่มุสลิมจะเข้ามา  ซึ่งเมื่อก่อนชาวเมื่อทั้งหมดไม่ทราบว่า
บรรพบุษของตนเองเป็นชาวพุทธ  พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองในประเทศของตนมาก่อน  มีพุทธสถานหลายแห่ง  มีเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ถ้ำที่เจาะภูเขาอันเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์  ชาวอุซเบกิซสถานยังคงเคารพบูชา  ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปยังอุซเบกิซสถาน ก่อนประเทศทางซีกตะวันออก  เช่น  จีน    เกาหลี  ญี่ปุ่น  ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแต่ยังไม่เจริญมากนัก  จนถึงสมัยพระเจ้ามิลินท์และพระเจ้ากนิษกะจึงได้เจริญรุ่งเรืองมาก  บริเวณตอนใต้ล้วนเป็นอาณาเขตของพระมหากษัตริย์ชาวพุทธทั้งสองพระองค์
                ในยุคต้นพระศาสนาแบบเถรวามเจริญรุ่งเรืองมากกว่าฝ่ายมหายาน  สมัยต่อมาพระพุทธรูปที่ขุดพบจะเป็นพระโพธิสัตว์  วัชรปาณี  และปัทมปาณี  ในขณะที่พระถังซัมจั๋งเดินทางเข้ามายังอินเดียผ่านประเทศอุซเบกิซสถาน  เห้นวัดแค่  ๒ วัด  ในเมืองสมารคันด์ (เติร์กผสมมองโกเลีย)  นับถือศาสนาบูชาไฟ (โซโรอัสเตอร์)   ขับไล่พระสงฆ์ออกราชอาณาจักรเสมอ  พระถังซัมจั๋งจึงได้ยื่นสาส์นแห่งกษัตริย์เกาเชียง  จึงได้รับการปฏิบัติที่ดีจากกษัตริย์สมารคันด์  จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส  สมาทานตนเป็นพุทธมามกะ  แต่นั้นมาชาวเมืองหันมาเคารพนับถือพระพุทธศาสนามากขึ้น  และพระองค์เป็นอุปถัมภ์การอุปสมบทพระสงฆ์ให้จำพรรษาทั้งสองวัดตลอดมา  หลังพระถังซัมจั๋งกลับไปแล้ว สถานการณ์พระพุทธศาสนาในอุซเบกิซสถาน  ไม่ทราบแน่ชัด

๘.๕.๒  สถานการณ์ปัจจุบัน
          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน  พุทธสถานต่าง ๆ  หรือบันทึกของพระถังซัมจั๋งเคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว   ในประเทศอุซเบกิซสถาน  สถานตั้งแต่สมัยพระเจ้า  อโศกมหาราชจนถึงศตวรรษที่  ๑๒  ถ้าวิเคราะห์ตามจำนวนพุทธสถานที่ขุดค้นได้ในปัจจุบัน ก็นับว่ามีความเจริญรุ่งเรืองไม่น้อย  ปัจจุบันพุทธสถานที่สำรวจค้นพบหลายแห่งคือ
๑.      พุทธสถานที่อำเภอแอร์ทาม (Airtam)  ริมฝั่งแม่น้ำอมู  ทารยา  (ดารยา)
(AMUDARYA)  สังฆรามแห่งนี้ขุดค้นโยนายวัสสันเมือ่  พ.ศ.  ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)  เขาได้พบพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ทั้งทำจากหินและดินเผา  ป้ายพร้อมภาพนักดนตรีทำจากปูนปั้น
๒.     พุทธสถานสังฆาราม    แห่งที่เมืองเทอเมซ (Termez)  ทางทิศเหนือของเมืองราว
 ๑๘  กิโลเมตร  สังฆรามทั้งสองแห่งนี้มีชื่อว่าเรียกตามภาษษท้องถิ่นว่า  การาเทปาและฟายาซเทปา  ที่นี่นักโบราณคดีได้ขุดพบพระพุทธรูปหอนดำสมัยคันธาระพร้อมพระอัครสาวกซ้ายขวา ประทับนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  และยังพบภาชนะคล้ายไหโบราณ มีจารึกอักษรสกฤตรายรอบทั้งหมดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองเทอเมซ
๓.     พุทธสถานดาลวาซิน  (Dalvasin)  ปี พ.ศ.  ๑๙๗๒  ได้ขุดพบโบราณสถานแห่งใหม่
ที่ดาลวาซิน  หลังจากขุดค้นได้พบเครื่องใช้ที่ทำจากทองคำหลายรายการ  เช่น  ตุ้มหู  กำไลมือ  แหวน  หนักรวม  ๓๖  กิโลกรัม  เป็นต้น
๔พุทธสถานดาลวาซินเปา  (Dalvasinpao)  ปี พ.ศ.  ๑๙๗๒  ได้ขุดพบโบราณสถาน
แห่งใหม่ที่ดาลวาซินเปา  ห่างจากเทอเมซ  ๑๒๐  กิโลเมตร  ที่นี่ได้พบพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ที่แตกหักหลายองค์
๕.     พุทธสถานอฟราซายาบ (Afrasayad)  และเพนจิเกนต์ (Pendjikent)  ทั้งสอง
แห่งพบที่เมืองสมารคันด์  ยังมีหลายห่งที่ยังไม่ได้ขุดค้นใกล้เมืองสมารคันด์  นอกจากนี้ยังมีสังฆารามที่ขัลจายัน  ใกล้แม่น้ำสุรข่าน  ทารยา  สังฆารามทอปรัก  การา  ใกล้เมืองเทอเมซ  จนปัจจุบันมีสังฆารามที่ค้นพบรวมทั้งหมดราว  ๒๐  กว่าแห่ง  เมือ่งที่พบพุทธสถานมกที่สุดคือเทอเมซ  ตาศเกน  และสมารคันด์  นักท่องเที่ยว หลายชาติทั้งที่เป็นชาวพุทธและนับถือศาสนาอื่น  เช่น  ญี่ปุ่น  จีน  ไต้หวัน  เกาหลี  ฮ่องกง  ต่างนิยมมาท่องเที่ยวบริเวณแถบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น